วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

การเชื่อมต่อเครือข่าย


                                  การเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. โทโปโลยีแบบบัส
เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า”บัส” (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป
1
ข้อดี
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด
2. โทโปโลยีแบบดาว    
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือ ข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
2
ข้อดี
– การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
– เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ
3. โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)  
เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
3
ข้อดี
1.ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง
ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้นเป็น
ตนเองหรือไม่
2. การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกัน
ของ สัญญาณข้อมูลที่ส่งออกไป
3.คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
1.ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำ
ให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
2.ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจ
สอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
4. โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)
มีลักษณะเชื่อมโยงคล้ายกับโครงสร้างแบบดาวแต่จะมีโครงสร้างแบบต้นไม้ โดยมีสายนำสัญญาณแยกออกไปเป็นแบบกิ่งไม่เป็นวงรอบ โครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับการประมวลผลแบบกลุ่มจะประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับต่างๆกันอยู่หลายเครื่องแล้วต่อกันเป็นชั้น ๆ ดูราวกับแผนภาพองค์กร แต่ละกลุ่มจะมีโหนดแม่ละโหนดลูกในกลุ่มนั้นที่มีการสัมพันธ์กัน การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม และรับส่งข้อมูลเดียวกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มจะส่งข้อมูลได้ทีละสถานีโดยไม่ส่งพร้อมกัน
4
5. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology)
เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโทโพโลยีแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อมเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน
5
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN) เป็นตัวอย่างที่ใช้ลักษณะโทโพโลยีแบบผสมที่พบเห็นมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อทั้งเครือข่ายขนาดเล็กและขนาดใหญ่ หลากหลายที่เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะถูกเชื่อมต่อจากคนละจังหวัด หรือคนละประเทศก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่าง ๆ สาขาที่หนึ่งอาจจะใช้โทโพโลยีแบบดาว อีกสาขาหนึ่งอาจใช้โทโพโลยีแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟ หรือดาวเทียม เป็นต้น

ระบบอินเตอร์เน็ต


                                      ระบบอินเตอร์เน็ต
  1. 1. ระบบอินเทอร์เน็ต
  2. 2. ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบอินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่ง เกิดจากการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ จานวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ทาให้คอมพิวเตอร์ทุก เครื่องทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นชนิดใดหรือขนาดใดก็ตาม สามารถส่งผ่าน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและสารสนเทศซึ่งกันและกันได้ โดยใช้โปรโตคอลเป็ นสื่อกลางในการ ติดต่อสื่อสาร สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเหมือนเส้นใยแมงมุม ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทเป็นอย่างมากกับการเป็นส่วนหนึ่งในการ ทางาน การดาเนินธุรกิจ ทั้งยังเป็นช่องทางการจาหน่ายสินค้า มีการบริการหลังการ ขายให้แก่ลูกค้าในด้านต่าง ๆ และสามารถทารายการทางการเงินผ่านทาง อินเทอร์เน็ตได้
  3. 3. คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในระบบอินเตอร์เน็ต • อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมกันต้องมีหมายเลขประจาเครื่องเพื่อ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร • สาหรับประเทศไทยในปัจจุบันรูปแบบของหมายเลข ประจาเครื่องส่วนใหญ่ใช้มาตรฐาน IPv4 ซึ่งใช้เลขฐาน 2 แบ่งตัวเลขออกเป็น4 ชุด เช่น 192.168.0.1 • ในอนาคต อุปกรณ์ต่าง ๆ มีความสามารถในการเชื่อมต่อ เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงจาเป็นต้องมีการขยาย หมายเลขประจาเครื่องเป็ นมาตรฐาน IPv6 ซึ่งใช้ เ ล ข ฐ า น สิ บ ห ก ข น า ด 16 บิ ต 8 ชุ ด เ ช่ น 3FFE:085B:1F1F:0000:0000:0000:00A9:1234 1. หมายเลขประจา เครื่องคอมพิวเตอร์ (Internet Protocol Address : IP Address)
  4. 4. คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในระบบอินเตอร์เน็ต • ข้อกาหนดหรือระเบียบการที่ใช้ติดต่อ รับส่งข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรือ เครื่อง คอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ในระบบ เครือข่าย • เนื่องจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ใน ระบบเครือข่ายมีหลากหลาย มีความเร็วและขนาดของ หน่วยความจาที่ใช้ในการทางานที่ไม่เท่ากัน อีกทั้ง ลักษณะของข้อมูลที่ส่งก็มีหลายรูปแบบ • จึงต้องมีข้อตกลงในการรับส่งข้อมูลเพื่อให้เกิดความ ถูกต้องและรวดเร็วในการสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์ 2. โพรโทคอล (Protocol)
  5. 5. 1) ไฟล์เซิฟเวอร์ (File Server) คือเครื่องที่ให้บริการแบ่งปันข้อมูลแก่เครื่องอื่นๆ ให้มีสิทธิ์ การใช้แฟ้มข้อมูล 2) เว็บเซิฟเวอร์ (Web Server) คือเครื่องที่ให้บริการข้อมูลเว็บไซต์ใช้สาหรับเก็บโฮมเพจ และเว็บเพจ 3) พร็อกซี่เซิฟเวอร์ (Proxy Server) คือเครื่องที่ให้บริการเป็นตัวแทนไปรับเว็บแทนลูกข่าย และสะสมเว็บนั้นไว้ในหน่วยความจาของตัวเอง สารองไว้เมื่อลูกข่ายร้องขอเว็บเดิมอีกครั้ง คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในระบบอินเตอร์เน็ต
  6. 6. 4) เมล์เซิฟเวอร์ (Mail Server) คือเครื่องทำหน้ำที่รับจดหมำย เก็บจดหมำย และส่งจดหมำย พร้อมทั้งคอยให้บริกำรผู้ใช้ที่ได้ลงทะเบียนใช้บริกำร 5) อินเทอร์เน็ตเซิฟเวอร์ (Internet Server) คือเครื่องที่ทำหน้ำที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต และควบคุมกำรใช้บริกำรอินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ำย 6) พริ้นเซิฟเวอร์ (Print Server) คืออุปกรณ์ที่ให้บริกำรเกี่ยวกับกำรพิมพ์โดยเครื่องลูกข่ำยที่ อยู่ในเครือข่ำยสำมำรถส่งงำนของตนไปพิมพ์ได้ 7) ดีเอ็นเอสเซิฟเวอร์ (DNS Server) คือเครื่องที่ใช้สำหรับกำรอ้ำงอิงหมำยเลข IP กับชื่อ โดเมนเนมที่เรำทำกำรจดทะเบียน คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในระบบอินเตอร์เน็ต
  7. 7. เบราเซอร์ (Browser) คืออะไร • เบรำเซอร์ (Browser) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ ในเว็บไซต์ เบรำเซอร์มีควำมสำมำรถในกำรเปิดดูไฟล์ต่ำงๆ ที่สนับสนุนเช่น Flash JavaScript PDF Media ต่ำงๆ • เบรำเซอร์มีหลำยตัวและควำมสำมำรถของแต่ละตัวก็แตกต่ำงกันขึ้นอยู่กับว่ำ ผู้พัฒนำเบรำเซอร์ พัฒนำให้มีควำมสำมำรถอะไรบ้ำง • เบรำเซอร์มักใช้เปิดดูเว็บเป็นส่วนใหญ่ และกำรใช้งำนต่ำงๆในระบบเครือข่ำย อินเตอร์เน็ตก็มักจะทำผ่ำนเบรำเซอร์ เช่น กำรดูภำพยนตร์ผ่ำน Youtube กำรส่ง เมล์ กำรซื้อขำยสินค้ำในระบบ e-commerce กำรใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) กำรดำวน์โหลดไฟล์ กำรเล่นเกมผ่ำนเน็ต กำรเรียนออนไลน์ เป็นต้น คาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในระบบอินเตอร์เน็ต
  8. 8. ระบบอินเตอร์เน็ต 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) 1.1 การเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้จะอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานไปยังผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เช่น TOT, True, 3BB เป็นต้น อดีตนิยมใช้การเชื่อมต่อแบบ ไดอัลอัพ (Dial Up) ต้องอาศัยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม(Modem) เมื่อต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อไหร่ จึงจะ ทาการเชื่อมต่อเข้ากับระบบ ปัจจุบันนิยมใช้การเชื่อมต่อแบบบรอด์แบนด์ (Broadband) ซึ่ง สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา โดยอาศัยอุปกรณ์ที่ เรียกว่า เอดีเอสแอลโมเด็ม (ADSL Modem)
  9. 9. 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) 1.2 การเชื่อมต่อโดยไม่ใช้สายสัญญาณ การเชื่อมต่อแบบนี้จะอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในการติดต่อ อินเทอร์เน็ต โดยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เช่น AIS, DTAC, True ทาหน้าที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อแบบนี้นิยมใช้กับอุปกรณ์ที่สามารถพกพาได้ เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค พีดีเอ(PDA) สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตเรียกว่า แอร์การ์ด (Air Card) ซึ่งทาหน้าที่เป็นโมเด็ม หากไม่ใช้แอร์การ์ด ก็สามารถใช้โทรศัพท์มือถือบางรุ่น ที่มี ความสามารถเป็นโมเด็มแทนแอร์การ์ดได้ เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายที่ควรรู้มีดังนี้
  10. 10. 1. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Connections) 1.2 การเชื่อมต่อโดยไม่ใช้สายสัญญาณ 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปยังเสาส่ง สัญญาณโทรศัพท์มือถือ แล้วเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายโทรศัพท์ 2G เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณจากอนาล็อกเป็นแบบดิจิตอล ทาให้ ประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณเสียงมีคุณภาพดีขึ้น 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอลที่เริ่มนาระบบแพกเกตสวิตชิงมาใช้ มีการนาคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือเพื่อใช้รับส่งข้อมูล เช่น GPRS 2.75G ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 กิโลบิตต่อวินาที 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอลที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสาร ด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวีดิโอ ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่จัดอยู่ในยุคนี้ 3.5G โทรศัพท์มือถือแบบดิจิตอลที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่ายุค 3G 4G โทรศัพท์มือถือในยุคนี้จะสามารถสนับสนุน แอปพลิเคชั่นที่ต้องการ ช่องทางในการส่งข้อมูลจานวนมาก
  11. 11. ระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องจนเป็นระบบเครือข่าย จาเป็ นต้องมีการ กาหนดหมายเลขหรือชื่อของเครือข่ายนั้น เพื่อให้สามารถอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายได้อย่างถูกต้อง จึงต้องมีหมายเลขประจาเครื่องขึ้นมา และการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก จาเป็น จะต้องขอใช้บริการจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยต้องระบุหมายเลขประจาเครื่องของเครื่อง เซิร์ฟเวอร์นั้นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกต่อการจดจา ได้พัฒนาให้มีเครื่องแม่ข่ายให้บริการชื่อโดเมน (Domain Name Server) ขึ้นมาเพื่อทา หน้าที่ในการแปลงชื่อของเว็บไซต์ให้เป็นหมายเลขประจาเครื่องแทน การบริหารจัดการระบบชื่อโดเมนโดย ISP จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามลักษณะของ โครงสร้างที่เป็นแบบทรี (Hierarchy Tree) 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  12. 12. ระบบอินเตอร์เน็ต 1) จุดเริ่มต้น (Root) 2) ชื่อโดเมน (Domain) 3) สับโดเมน (Subdomain) 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  13. 13. ระบบอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างชื่อโดเมน เว็บไซต์ www.cmru.ac.th มี IP Address คือ 202.29.60.226 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  14. 14. ระบบอินเตอร์เน็ต รูปแบบ Domain Name แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ 2 ระดับ รูปแบบ ชื่อองค์กร.ประเภทขององค์กร เช่น sanook.com, facebook.com, kapook.com, tttonline.net เป็นต้น แบบ 3 ระดับ รูปแบบ ชื่อองค์กร.ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร.ส่วนขยาย ประเทศ เช่น cmru.ac.th, Manager.co.th, Nectec.or.th 1. 2. 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  15. 15. ระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนขยายประเภทขององค์กร ความหมาย กลุ่มองค์กร ส่วนขยายประเภทองค์กร กลุ่มธุรกิจการค้า Commercial Organizations com หรือ co สถาบันการศึกษา Educational Organizations edu หรือ ac หน่วยงานรัฐบาล Government Organizations gov หรือ go หน่วยงานทางทหาร Military Organizations mil หรือ mi หน่วยงานที่เกี่ยวกับเครือข่าย Networking Organizations net องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกาไร Non-commercial Organizations org หรือ or 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  16. 16. ระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนขยายประเทศ ส่วนขยายประเทศ ประเทศ ส่วนขยายประเทศ ประเทศ at ออสเตรีย il อิสราเอล fr ฝรั่งเศส in อินเดีย be เบลเยี่ยม it อิตาลี ca แคนาดา jp ญี่ปุ่น ch สวิตเซอร์แลนด์ nl เนเธอร์แลนด์ cn จีน no นอร์เวย์ 2. โดเมนเนม (Domain Name)
  17. 17. ระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนขยายประเทศ ประเทศ ส่วนขยายประเทศ ประเทศ de เยอรมันนี ru รัสเซีย dk เดนมาร์ค se สวีเดน es สเปน us อเมริกา fi ฟินแลนด์ uk สหราชอาณาจักร ie ไอร์แลนด์ th ไทย 2. โดเมนเนม (Domain Name) ส่วนขยายประเทศ
  18. 18. ระบบอินเตอร์เน็ต ยูอาร์แอล(Uniform Resource Locator : URL) คือ รูปแบบของการเรียกใช้ บริการในอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการอ้างอิงเว็บไซต์ต่าง ๆ http ชนิดของโปรโตคอลที่ใช้ในการถ่ายโอน www บริการที่เรียกใช้ Academic สับโดเมน cmru องค์กร ac ประเภทขององค์กร th ประเทศ web56 ไดเรกทอรี่ calendar.php ไฟล์เอกสารที่ระบุถึงเว็บเพจหนึ่ง ๆ ที่กาลังร้องขอ
  19. 19. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail: E-Mail) จดหมายที่ส่งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทั้งผู้รับและผู้ส่งอยู่ที่ใดในโลกก็ได้ อีเมล์นี้ช่วยให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้อย่างรวดเร็ว และเก็บข้อความไว้อ่านอีกได้ สามารถตอบกลับไปยังผู้ที่ส่งมา หรือส่งต่ออีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีกหลายๆคนพร้อมกัน
  20. 20. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 2. ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นเทคโนโลยีที่มีรูปแบบการสื่อสารแบบเรียลไทม์ สนทนากันด้วยการพิมพ์ข้อความ ยังสามารถส่งภาพและสนทนากันด้วยเสียงได้ด้วย ผู้ร่วมสนทนาทั้งหมดจะเห็นข้อความ ภาพ และเสียง เกือบจะพร้อมกัน เปรียบเสมือนนั่ง สนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ Camfrog ต้องมีอุปกรณ์สนับสนุน ได้แก่ ไมโครโฟน ลาโพง และกล้องดิจิตอล
  21. 21. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 3. การโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (InternetTelephony) Internet Telephony หรือบางครั้งเรียกว่า (Voice over IP:VoIP) เป็นเทคโนโลยีที่ทาให้ผู้ใช้สามารถโทรศัพท์สนทนากันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยมีอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งานอื่นๆ ได้แก่ ซอฟต์แวร์พิเศษสาหรับควบคุมการสนทนา ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (Internet Telephone Software) ไมโครโฟน ลาโพง การทางานของระบบจะแปลงเสียงพูดซึ่งเป็นสัญญาณอนาล็อกไปเป็นสัญญาณดิจิตอล ส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปสู่ปลายทางที่ต้องการสนทนา แล้วแสดงผลผ่านลาโพงของปลายทาง
  22. 22. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 4. บริการเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network Service) Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทาความรู้จักและเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทาง หนึ่ง โดยให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ สาหรับมาทาความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทาความรู้จักใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร ตัวอย่างของ Social Network ได้แก่ Facebook, Twitter และ Blog
  23. 23. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 5. คลาวด์แอปพลิเคชั่น (Cloud Application) เป็นโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการ ขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ มีการจัดสรรแบ่งทรัพยากร เน้นการทางานระยะไกลอย่างง่าย โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็น โครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างของ คลาวด์แอปพลิเคชั่น ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ Youtubeโดยผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอ ออนไลน์ได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์
  24. 24. การประยุกต์ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตกับชีวิตประจาวัน 6. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web: WWW) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ค้นหาข้อมูลข่าวสาร บนอินเทอร์เน็ต มีการเชื่อมโยงจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกล WWW จะแสดงผลในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) โดยใช้เว็บ บราวเซอร์ในการดูหรืออ่านข้อมูลดังกล่าว เว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Internet Explorer (IE), Firefox, Google chrome เป็นต้น
  25. 25. ความหมายของ Upload Download • อัพโหลด (Upload) หมำยถึง กำรส่งข้อมูลออกจำกอุปกรณ์ของเรำ? กำรส่งออกสำมำรถส่งในรูปแบบไม่ จำกัด ไม่ว่ำจะเป็น ข้อควำม รูปภำพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดีโอ ส่งออกไป โดย สำมำรถส่งออกได้ในช่องทำงต่ำงๆ เช่น กำรส่งผ่ำน Message / Email หรือแม้กระทั่ง ผ่ำน FTP (อีกหนึ่งวิธีในกำรย้ำยข้อมูล) เป็นต้น กิจกรรมเหล่ำนี้ ล้วนต้องกำร ควำมเร็วในกำรอัพโหลดทั้่งสิ้น • ดาวน์โหลด (Download) หมำยถึง กำรรับข้อมูลจำกภำยนอกเข้ำสู่อุปกรณ์ภำยในของเรำ ไม่ว่ำจะเป็นกำร เปิด เข้ำหน้ำเว็บ กำร download ไฟล์จำกเว็บ ก็ถือว่ำอยู่ในกลุ่มของกำร download เช่นเดียวกัน ยิ่งควำมเร็วในกำรดำวน์โหลดสูง ย่อมทำงำนได้เร็วขึ้น อ้ำงอิงจำก http://www.imotab.com/index.php/hi-speed-internet/625-what-is-upload-download
  26. 26. การUpload Downloadเร็วแค่ไหน ถึงเพียงพอ • ดาวน์โหลด (download) ยิ่งมีควำมเร็วมำก ย่อมทำให้เรำสำมำรถค้นหำข้อมูล เปิดดูหนังออนลไน์ได้สะดวกและรวดเร็วมำก สำหรับกำรใช้งำนส่วนบุคคล แนะนำว่ำ เพียงแค่ควำมเร็ว 5 mbps ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องสูงมำกกว่ำนี้ เพรำะถ้ำเรำไม่ได้เน้นในเรื่องกำรดำวน์โหลดไฟล์ใหญ่ๆ จำกอินเตอร์เน็ต • อัพโหลด (Upload)โดยปกติ มักไม่ค่อยจำเป็นมำกนักที่จะใช้ควำมเร็วสูงๆ ยกเว้น แต่เวลำต้องกำรส่งออกเมลที่มีไฟล์แนบขนำดใหญ่ๆซึ่งก็ไม่ค่อยได้ส่งออกเท่ำไหร่ ดังนั้น จะเห็นได้ชัดว่ำ Upload มักมีควำมเร็วที่ช้ำ Download หลำยเท่ำ สำหรับ บุคคลทั่วไปควำมเร็วในกำรอัพโหลดประมำณ 2 mbps ก็เพียงแล้วเช่นกัน อ้ำงอิงจำก http://www.imotab.com/index.php/hi-speed-internet/625-what-is-upload-download
  27. 27. เครือข่ายอินเทอร์ เน็ตถือว่าเป็ นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถี ชีวิตประจาวันของมนุษย์เราอย่างยิ่ง ทาให้คนเราสามารถติดต่อสื่อสารกัน ได้แม้อยู่คนละซีกโลกก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามภัยที่มาจากอินเทอร์เน็ตก็มี เป็นจานวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องรู้จัก และ ใช้งานอินเทอร์เน็ตให้เป็นเพื่อให้ เกิดประโยชน์ต่อตัวเราเองให้มากที่สุด

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


                               ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้"เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น
  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
  2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึก ยกเว้นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลหลักอย่างฮาร์ดดิสก์ หากพื้นที่เต็มก็คงต้องหามาเพิ่ม
  3. การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่น เดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
  4. การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบเน็ตเวิร์กสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน
       ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์ ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
1. LAN (Local Area Network) 
      ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆพัฒนาการของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อเทอร์มินอล (Terminal)เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfram Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆจะถูกควบคุมและดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูล และ แสดงข้อมูลเท่านั้น
สำหรับเครือข่ายในปัจจุบันมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้าถึงและการใช้งานทรัพยากรที่มีอยู่บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันเรียกเทอร์มินอลที่มีความสามารถเล่านี้ว่าโหนด(Node)ลักษณะการกระจายการทำงานแบบการกระจายศูนย์ (Distributed System) ซึ่งเป็นการกระจายภาระ และหน้าที่การทำงานไปโหนดบนเครือข่ายทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยลดภาระการทำงาน ของโฮสต์ลงได้เป็นอย่างมาก
ปัจจุบันมีการใช้งานเครือข่ายระยะใกล้ หรือเรียกอีกอย่างว่าเครือข่ายท้องถิ่น (LAN หรือ Local Area Network) อย่างแพร่หลายในเกือบทุกหน่วยงาน จนเปรียบเสมือนปัจจัยในการทำงานของสำนักงานทั่ว ๆ ไป เช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์ดีด หรือเครื่องถ่ายเอกสารบุคคลากรเกือบทุกคนในหน่วยงานจะมี เครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 เครื่อง เพื่อใช้งานในด้านต่างๆ นอกจากนี้อาจจะมีการเชื่อมโยงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์กับระบบงานอื่น ภายในหน่วยงานเดียวกันภายในตึกเดียวกัน หรือภายในองค์กรเดียวกัน การเชื่อมโยงในลักษณะนี้เปรียบเสมือนการเชื่อมโยงประสานการทำงานของหน่วยงานหรือ องค์กรเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกการเชื่อมโยงลักษณะนี้ว่าเครือข่ายท้องถิ่น
      สรุปแล้วเครือข่ายระยะใกล้ หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)เป็นรูปแบบการทำงานของระบบเครือข่ายแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์ใช้งานทางคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงเอกสาร ส่งข้อมูลติดต่อใช้งานร่วมกันได้ การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์ จะอยู่ในบริเวณแคบ โดยทั่วไปมีระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร เช่น ภายในอาคารสำนักงานภายในคลังสินค้า โรงงาน หรือระหว่างตึกใกล้ ๆ เชื่อมโยงด้วย สายสื่อสารจึงทำให้มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงมาก และมีความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ
2. MAN (Metropolitan Area Network) 
      ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก
3. WAN (Wide Area Network) 
      ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)ระบบเครือข่ายระยะไกล หรือ Wide Area Network เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็นแพ็คเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพ็กเก็ตนี้ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือเป็นทอดๆอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างทางแต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้ และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวก รูปแบบของเครือข่ายที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณในการส่งแพ็คเก็ต โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบดาตาแกรม (Datagram) และแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual Circuit)หรือแบบวงจรเสมือน ระบบดาตาแกรมพิจารณาแต่ละแพ็คเก็ตแยกออกจากกัน แพ็คเก็ตต่างๆของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับปริมาณข่าวสารในเครือข่ายในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัว"เสีย"(คือไม่อาจร่วมในการส่งผ่านข่าวสารในเครือข่ายได้) ดังนั้นการจัดเส้นทางจึงทำอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะเครือข่าย ข้อเสียของระบบเช่นนี้คือ แพ็คเก็ตอาจไปถึงจุดหมายโดยไม่ได้เรียงลำดับ(Out of Order) จึงต้องถูกจัดเรียงใหม่ก่อนที่จะส่งต่อให้ผู้รับปลายทาง เครือข่ายที่ใช้ระบบนี้รู้จักกันดีคือ อาร์พาเน็ต(ARPARNET)ย่อมาจาก (Advanced Research Projects Agency Network) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแม่แบบเครือข่ายสากล หรืออินเตอร์เน็ตด้วย (Internet) ด้วยส่วนระบบเครือข่ายเวอร์ชวลเซอร์กิตใช้รหัสของต้นทางและปลายทางในแพ็คเก็ตแรก เพื่อจัดเส้นทางผ่านระบบเครือข่ายสำหรับข้อความที่ต้องการส่งในชุดนั้นทั้งหมด ข้อดีของวิธีนี้คือ ส่วนหัวสำหรับแพ็คเก็ตถัดๆไปมีขนาดลดลงได้เพราะแพ็คเก็ตหลังๆเพียงแต่ตามหลังแพ็คเก็ตหน้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีรหัสต้นทางปลายทางอีก และอัลกอริทึมสำหรับจัดเส้นทางนั้นจะทำกันเพียงครั้งเดียวต่อข้อความทั้งข้อความ แทนที่จะต้องคำนวณใหม่สำหรับทุกๆแพ็คเก็ต ข้อเสียสำหรับวิธีการนี้ คือ คอมพิวเตอร์ตามที่กำหนดเส้นทางขึ้นนั้นต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางนี้ไว้จนกว่าแพ็คเก็ตสุดท้ายจะผ่านไปแล้ว ในกรณีนี้ต้องใช้ที่เก็บข้อมูลมากสำหรับทั้งเครือข่าย และก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หากคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเส้นทางเกิดเสีย และข้อเสียอีกประการ คือสมรรถนะของเครือข่ายไม่อาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพการใช้งานได้ง่าย เพราะเส้นทางถูกกำหนดตายตัวตั้งแต่แพ็คเก็ตแรกหากสภาวะของเครือข่ายระหว่างที่มีการสื่อสารข้อมูลกันอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไป แพ็กเก็ตหลังๆก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือปรับเส้นทางในการสื่อสารที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างของเครือข่ายแบบนี้คือ TRANSPAC ในฝรั่งเศสและ TYMNET ในสหรัฐอเมริกาหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาระบบเครือข่ายขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันประมาณการว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในโลกของอินเตอร์เน็ตมีมากกว่า 30 ล้านเครื่องเลยทีเดียว โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อหรือโปรโตคอล ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า TCP/IP เหมือนกันหมดทุกเครื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้จะมีผลทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ปัจจุบันมีจำนวนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตมากกว่า 5 หมื่นเครือข่าย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กลางที่คอยให้บริการข้อมูลหรือเซิร์ฟเวอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 5 ล้านเครื่อง และยังประมาณกันว่าจะมีผู้ขอใช้อินเตอร์เน็ตต (ไคลเอนต์) ในเวลานี้มากกว่า 30 ล้านคน กระจายการใช้งานมากกว่า 84 ประเทศในทั่วทุกมุมโลก ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของผู้พัฒนาเครือข่าย โดยไม่มีข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ เพียงแต่ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ TCP/IP เท่านั้น ทำให้อินเตอร์เน็ตสามารถเติบโตไปอย่างไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดโดยไม่มีใครสามารถเข้ามาควบคุมการผูกขาดทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ตเปิดให้บริการเครือข่ายที่สามารถให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล ด้วยรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เป็นแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบไปด้วยภาพกราฟิก เสียง ข้อมูล และสัญญาณวิดีโอที่ชื่อว่า World Wide Web ที่ทำให้การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากนอกนั้นอินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างสำหรับทุกๆเรื่อง ตั้งแต่การแสดงออกทางความคิดเห็นจนถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆอย่างไร้ข้อจำกัด โดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใครในโลกอภิมหาเครือข่าย

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

                          
                               สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
 การสื่อสารทุกชนิดต้องอาศัยสื่อกลางในการส่งผ่านข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทาง เช่น การคุยโทรศัพท์อาศัยสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณคลื่นเสียงไปยังผู้รับ เป็นต้น สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์อาจใช้สายเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อหรืออาจใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สายเป็นสื่อกลางในการเชื่อมต่อก็ได้ สื่อกลางในการสื่อสารมีความสำคัญเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดประสิทธิภาพในการสื่อสาร เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ปริมาณของข้อมูลที่สามารถนำไปได้ในหนึ่งหน่วยเวลา รวมถึงคุณภาพของการส่งข้อมูล เราจะกล่าวถึงสื่อกลางในการสื่อสารทั้งในแบบใช้สายและแบบไร้สายดังนี้
                4.3.1 สื่อกลางแบบใช้สาย
    1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลบการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกลได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียว ดังรูปที่ 4.12
สายคู่บิดเกลียวมี ชนิด คือ
1. สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายยูทีพี (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อมาได้มีการรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กบสัญญาณความถี่สูงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น
เกร็ดน่ารู้
ชนิดของสายต่อยูทีพี
        สายยูทีพีที่ใช้เป็นสื่อกลางการสื่อสารข้อมูล
ประกอบด้วยลวดทองแดง เส้น ต่อเข้ากับหัวต่อแบบ
RJ45 ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้ลวดทองแดง
เพียง หรือ เส้น ต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ11
                สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair: STP) เป็นสายที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวนได้ดียิ่งขึ้น สายเอสทีพีรองรับความถี่ของการส่งข้อมูลสูงกว่าสายยูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า
                ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณภายในอาคารนิยมใช้สายยูทีพีเป็นหลัก เพราะมีราคาถูกกว่าสายเอสทีพี และมีการพัฒนามาตรฐานให้มีคุณภาพสูงสามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ดีขึ้น
    2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่เรารู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรืสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงทักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อกเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง (audio-video devices) ต่างๆ ภายในบ้านและสำนักงาน ตัวอย่างสายโคแอกซ์ ดังรูปที่ 4.13
    3) สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด ตัวอย่างสายไฟเบอร์ออพติก ดังรูปที่ 4.14
                การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ้งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่งแต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้แสงความเข้มสูง เช่น แสงเลเซอร์ ส่งผ่านไปในเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้แคล็ดดิงเป็นตัวสะท้อนแสง ทำให้แสงสามารถเดินทางไปจนถึงปลายทางได้โดยไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆ และมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงระดับกิกะบิดต่อวินาที อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลสูง มีความสามารถในการนำพาข้อมูลไปได้ในปริมาณมาก และสามารถส่งข้อมูลไปได้เป็นระยะทางไกลโดยมีความผิดพลาดน้อย จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร ระหว่างเมือง และถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก (backbone cable) เชื่อมโยงเครือข่ายหลักต่างๆเข้าด้วยกัน
                สื่อกลางแบบใช้สายที่ได้กล่าวมาทั้งหมด มีคูณสมบัติและการนำไปใช้งานสรุปดังตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 คูณสมบัติและการนำไปใช้งานของสื่อกลางแบบใช้สายชนิดต่างๆ
ชนิดของสื่อกลาง
ความเร็วสูงสุด
ระยะทางที่ใช้งานได้
การนำไปใช้งาน
เอสทีพี
155 Mbps
ไม่เกิน 100 เมตร
ปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากมีราคาสูง

ยูทีพี
1 Gbps
ไม่เกิน 100 เมตร
ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์เข้ากับแลนที่ใช้ในปัจจุบัน

โคแอกซ์
10 Mbps
ไม่เกิน 500 เมตร
ใช้เป็นสายแกนหลักสำหรับแลนในยุคแรกๆ และยังนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณภาพและเสียงหรือโทรทัศน์

ไฟเบอร์ออพติก
100 Gbps
มากกว่า กิโลเมตร
ใช้เป็นสายแกนหลักในระบบเครือข่ายหรือใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล




                4.3.2 สื่อกลางแบบไร้สาย การสื่อสารแบบไร้สายอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณ ซึ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีหลายชนิด แบ่งตามช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน การสื่อสารแบบไรสายมีผู้นิยมใช้มากขึ้น เนื่องจากมีความคล่องตัวสูงและสะดวกสบาย มักนิยมใช้กันในพื้นที่ที่การติดตั้งสานนำสัญญาณทำได้ลำบากหรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงเกินไป สื่อกลางของการสื่อสารแบบนี้ เช่น อินฟราเรด ( Infrared : IR ) ไมโครเวฟ ( microwave ) คลื่นวิทยุ (radio wave) และดาวเทียมสื่อสาร (communications satellite )
        1.อินฟราเรด สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งและตัวรักสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรักโทรศัพท์หรือวิทยุการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ (The Infrared Data Association : IrDA ) :ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ ดังรูปที่ 4.15
                2.ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกลโดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรักส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกันระหว่างสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และไม่สะดวกในการวางสายสัญญาณ ซึ่งเสาสัญญาณแต่ละเสาสามารถวางห่างไกลได้ถึง 80 กิโลเมตร ตัวอย่างการส่งสัญญาณผ่านไมโครเวฟภาคพื้นดินดังรูป 4.16
                3.คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะทางได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM ) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ ( Wi-Fi ) และบลูทูท (bluetooth) ดังรูปที่ 4.17 

กร็ดน่ารู้
การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่
                การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (mobile phone communication ) ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงส่งสัญญาณสื่อสารกันระหว่างเครื่องโทรศัพท์
และเสารักส่งสัญญาณ (tower) ที่อยู่มนรัศมีการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเรียกบริเวณที่แต่ละเสาสัญญาณครอบคลุมว่าเซล (cell) สัญญาณการสื่อสารระหว่างโทรศัพท์ในแต่ละเซล จะถูกส่งต่อจากเสารับส่งสัญญาณเข้าสู่เครือข่ายระบบโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อเสาสัญญาณทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยสายสื่อสาร ซึ่งเมื่อผู้ใช้งานโทรศัพท์มีการเคลื่อนที่ออกห่างจากเซลหนึ่ง ไปในเซลอื่นสัญญาณการเชื่อมต่อของโทรศัพท์จะถูกส่งต่อไปยังเสารับส่งสัญญาณของเซลต่อไปเรื่อยๆ โดยทั่วไปเซลหนึ่งๆ สามารถครอบคลุมรัศมีได้ไกลหลายกิโลเมตร
เกร็ดน่ารู้
การพัฒนาระบบโทรศัพท์มือถือ ได้แบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้
ยุคของ
โทรศัพท์เคลื่อนที่
ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
คุณสมบัติ
ตัวอย่างของระบบที่ใช้งาน
1G
ต่ำมาก
รับส่งข้อมูลแบบแอนะล็อก และส่งได้แต่ข้อมูลเสียงเท่านั้น ไม่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
AMPS
2G
10-14 kbps
รับส่งข้อมูลแบบดิจิทัล แต่ยังรองรับการใช้งานส่งข้อมูลเสียงเป็นหลัก สามารถใช้ในการสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วต่ำ
GSM
2.5G
50-144 kbps
มีการพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น เป็นการพัฒนาเพื่อให้ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2Gสามารถใช้สื่อสารข้อมูลได้ดีขึ้น เพื่อรอการพัฒนาที่จะมาถึงในยุค 3G
SMS, GPRS, EDGE
3G
144 kbps- 2 Mbps
รองรับการส่งข้อมูลวีดีทัศน์ และมัลติมีเดียสามารถใช้งานเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ดี มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูง
CDMA
4G
100 Mbps ถึง 1 Gpbs
คาดหวังให้เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่เชื่อมต่อเครือข่าย อุปกรณ์ และผู้ใช้เข้าด้วยกันอย่างกว้างขวาง เพื่อรองรับข้อมูลทุกรูปแบบ และมีการทำงานในลักษณะที่เป็นดิจิทัลทั้งหมด
WiMax, WiBro, Uitra Mobile Broadband (UMB)
                4) ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรักส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดนเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร ดังรูปที่ 4.18 โดนดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยคามเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียม และการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลก เป็นไปอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ยังมีการใช้งานดาวเทียมในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกเรียกว่าระบบจีพีเอส โดยบอกพิกัดเส้นรุ้งและเส้นแวงของผู้ใช้งานเพื่อใช้ในการนำทาง ดังรูปที่ 4.19

การสื่อสารของคอมพิวเตอร์

                        
                          การสื่อสารของคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
          1.  ผู้ส่ง  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  เป็นต้น
          2.  ข้อมูลข่าวสาร  เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง  ข้อความหรือภาพ  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
          3.  สื่อกลาง  หรือช่องทางการสื่อสาร  เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  ดังนี้
                   *  สายสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  เส้นใยแก้วนำแสง  เป็นต้น
                   *  คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  คลื่นวิทยุ  คลื่นไมโครเวฟ  คลื่นแสง  คลื่นอินฟราเรด
                   *  อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ  เช่น  เสาอากาศวิทยุ  เสาอากาศโทรศัพท์  ดาวเทียม  โมเด็ม
          4.  ผู้รับ  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง  ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  เป็นต้น
การ ที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้  และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
          5.  โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


                                 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

4.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

4.2 ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
1.  งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2.  งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3.  งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.  งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลอง ภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5.  งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
 6.  การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน  CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. ด้านการศึกษา คอมพิวเตอร์มีประโยชน์ทั้งต่อผู้เรียน ผู้สอน และสถานศึกษา ดังนี้
(1.1) ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ
(1.2) ช่วยรวบรวม ข้อมูลต่างๆไว้ในแหล่งข้อมูลเดียว
(1.3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง
(1.4) ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิดของผู้เรียนกับผู้อื่น
(1.5) ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียนกับผู้สอน
(1.6) ช่วยผลิตสื่อสารการเรียนรู้ที่น่าสนใจแก่ผู้เรียนที่ขาดแคลนผู้สอน
(1.7) ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้
(2.1) ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
(2.2) เป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
(2.3) ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน
3. ด้านการบริหารประเทศ รัฐบาลได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประโยชน์ต่างๆเพื่อส่งเสริมการบริหารประเทศ ดังนี้
(3.1) เป็นช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากประชาชน
(3.2) เป็นช่องทางการนำเสนอข้อมูลไปสู่ประชาชน
(3.3) ส่งเสริมการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตย
(3.4) เพิ่มทัศนคติที่เกี่ยวกับการบริหารประเทศด้านบวกให้แก่ประชาชน
(3.5) เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล
(3.6) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและข้าราชการในการจัดการเกี่ยวกับงานด้านทะเบียนราษฎร
4. ด้านสังคมศาสตร์ เป็นงานที่เกี่ยวกับมนุษย์และประชาชน ดังนี้
(4.1) ช่วยเก็บข้อมูลสถิติด้านสังคมศาสตร์
(4.2) ช่วยคำนวณแนวโน้มปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
(4.3) ช่วยนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิหรือภาพ 3มิติ ทำให้เปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น
 5. ด้านวิศวกรรม เป็นงานที่ต้องอาศัยความแม่นยำ ดังนี้
(5.1) ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
(5.2) สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
(5.3) ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
(5.4) ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
6. ด้านวิทยาศาสตร์ การช่วยค้นหาวิธีการทดลองหรือแนวความคิดด้านวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ
(6.1) ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่างๆ
(6.2) เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
(6.3) ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็กๆได้
(6.4) สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อความลดความผิดพลาดจากการทดลองกับความจริง
7. ด้านการแพทย์ คอมพิวเตอร์ช่วยส่งเสริมการทำงานด้านการแพทย์ ดังนี้
(7.1) ลดความผิดพลาดและเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
(7.2)เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ
(7.3) ช่วยลดเวลาในการรักษาโรค
8. ด้านอุตสาหกรรม มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับเครื่องจักรเพื่อใช้ในวงการอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ดังนี้
(8.1) ช่วยควบคุมการผลิตชิ้นงานให้ได้ปริมาณและคุณภาพตามต้องการ
(8.2) ช่วยทำงานในพื้นที่เสี่ยงภัยหรืองานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้
(8.3) ช่วยลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน
(8.4) ช่วยคำนวณปริมาณวัตถุดิบ สินค้า และกำไร
9. ด้านธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้สร้างประโยชน์ด้านธุรกิจอย่างมาก ดังนี้
(9.1) เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
(9.2) ช่วยตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้าต่างๆ
(9.3) ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ที่มีเงินทุนต่ำ
(9.4) ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
(9.5) เพิ่มความสะดวกสบายในการซื้อและขายสินค้าจากทั่วโลก
10. ด้านธนาคาร มีการพัฒนางานด้านธนาคารในรูปแบบการบริหารให้เป็นธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
(10.1) ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน
(10.2) ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการธนาคาร ทำให้สามารถจัดการด้านการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา
(10.3) ช่วยเก็บข้อมูลลูกค้าไว้ในส่วนกลาง ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลลูกค้าได้จากทุกธนาคาร
11. ด้านสำนักงาน เป็นประโยชน์ที่ผู้ใช้ทุกคนได้รับมากที่สุด ดังนี้
(11.1) ให้สร้างงานนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ
(11.2) ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
(11.3) ช่วยเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริการ
(11.4) ช่วยจัดทำ แก้ไข หรือคัดลอกเอกสารต่างๆได้อย่างรวดเร็ว เป็นระเบียบ และสวยงาม
12 ด้านความบันเทิง มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ที่เลือกรับความบันเทิง ดังนี้
(12.1) ช่วยให้เกิดความสนุกสนานและทำให้รู้สึกผ่อนคลาย
(12.2) เพิ่มทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
(12.3) ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
(12.4) ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง
(12.5) ประหยัดค้าใช้จ่ายและเวลาในการหาความบันเทิง
(12.6) เป็นพื้นฐานในการสร้างแอนิเมชันและเทคนิคพิเศษทางด้านภาพยนตร์